เกี่ยวกับโรงเรียน

  • ตราสัญลักษณ์ : สมเด็จพระสุริโยทัยทรงพระคชาธาร
  • อักษรย่อ :  ศ.ท.
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Satri Si Suriyothai School
  • วันก่อตั้งโรงเรียน : วันที่ 1 สิงหาคม 2465
  • วันสถาปนาโรงเรียน : วันที่ 15 พฤศจิกายน 2482
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ 
  • สถานที่ตั้งโรงเรียน : เลขที่ 1 ซอยเจริญกรุง 57  ถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา
    เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
  • โทรศัพท์ : 0-2211-0383  0-211-9850
  • โทรสาร : 0-2211-9937
  • สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • ดาวน์โหลด : ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน

โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล พัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นพลโลก บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง รักความเป็นไทย รู้เท่าทันวิทยาการ กอรปความดีงาม สมเกียรติศักดิ์แห่งพระนามสมเด็จพระสุริโยทัย

  1. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถเต็มศักยภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนและมาตรฐานการศึกษาชาติ
  2. พัฒนาบรรยากาศแวดล้อมและกิจกรรมในโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  3. ส่งเสริมการประยกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ การเผยแพร่ความรู้และการสร้างสรรค์
  4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มุ่งให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นสำคัญ
  1. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละคนและจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นที่เชื่อถือของสังคม
  2. โรงเรียนมีบรรยากาศเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
  3. บุคคลากรในโรงเรียนใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทันและสร้างสรรค์
  4. ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  1. พัฒนาผู้เรียนให้มีผลสำฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่กำหนด
  2. พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและบรรยากาศแวดล้อมในโรงเรียนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  3. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถนำนวัตกรรมจัดการเรียนรู้ให้มีปนะสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
  1. จัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการ บุคคล งบประมาณ บริหารทั่วไป
  2. จัดตั้ง/รับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ
  3. พัฒนาหลักสูตร /จัดการเรียนการสอน
  4. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ
  5. กำกับ ติดตามประเมินผลตามแผนงานโครงการ
  6. ระดมทรัพยากร ปกครอง ดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินฯ
  7. จัดระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
  8. ส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน สร้างความสัมพันธ์

วิชฺชาจารณสมฺปนฺนา สาเสฎฺฐา ผู้รู้ดีและประพฤติดีเป็นผู้เจริญ

ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ ประกอบกรรมดี มีวินัย

พวกเราเป็นไทย อยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะเรามีชาติ ศาสนา มีพระมหากษัตริย์ ซึ่งบรรพบุรุษของเราเอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิต และความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้ เราต้องสละชีพเพื่อชาติ เราต้องบำรุงศาสนา เราต้องรักษาพระมหากษัตริย์

  • สีน้ำตาล เป็นสีที่หมายถึง รสหวานล้ำดุจน้ำตาล และเป็นสีที่แสดงความแข็งแกร่ง กล้าหาญ ดุจพระวีรกรรมของสมเด็จพระสุริโยทัย วีรสตรีแห่งชาติ เป็นสิ่งเตือนใจ ให้น้อมระลึกถึงพระองค์ท่านที่ทรงประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป
  • สีชมพู เป็นสีที่หมายถึง ความอ่อนหวาน สดใส เป็นสีที่แสดงถึงความสุภาพอ่อนหวาน สมเป็นกุลสตรีที่ดีเป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรม เพื่อเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติสืบไป
  • คณะสุพรรณิการ์ (สีเหลือง)
  • คณะราชาวดี (สีม่วง)
  • คณะพวงหยก (สีเขียว)
  • คณะยูงทอง (สีแสด)
  • คณะสร้อยอินทินิล (สีฟ้า)

วัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง

  1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณแห่งองค์วีรกษัตรีของชาติ
  2. เพื่อเป็นที่สักการะของครูอาจารย์ นักเรียน ศิษย์เก่า ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไป
  3. เพื่อให้คนรุ่นหลังได้สำนึกถึงพระวีรกรรมอันกล้าหาญ เสียสละควรแก่การยกย่อง เป็นแบบอย่างของความจงรักภักดีที่มีต่อพระมหากษัตริย์ และพระสวามี
  4. เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีที่ทรงมีพระคุณต่อประเทศชาติ
  5. เพื่อเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของครูอาจารย์และนักเรียน

พระสุริโยทัยราชานุสาวรีย์

สมเด็จพระสุริโยทัย พระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ได้สละพระชนม์ชีพเข้าป้องกันพระราชสวามีให้พ้นจากเงื้อมมือ ของพวกข้าศึกเมื่อ พ.ศ. 2091 สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี พระวีรกรรมของพระองค์ยังเป็นที่กล่าวขานกันตลอดมา แม้เวลาจะผ่านพ้นไป 400 กว่าปี แล้วก็ตาม สมาคมผู้ปกครองและครูสตรีศรีสุริโยทัย ศรีสุริโยทัยสมาคม ซึ่งประกอบด้วยครูอาจารย์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบันและผู้ปกครองนักเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ได้เห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจัดสร้างพระสุริโยทัยราชานุสาวรีย์ ประดิษฐานภายในบริเวณโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยซึ่งมีนามของพระองค์ไว้เป็นที่สักการะสืบไป

หลังจากที่ได้มีการออกแบบองค์พระรูป และฐานพระรูปแล้ว จึงได้เริ่มก่อสร้างและมีพิธีเททอง หล่อพระรูปเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2532 โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จมาเป็นองค์ประธานเททองหล่อพระรูปพระสุริโยทัย และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพระสุริโยทัยราชานุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2534

ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 การก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระสุริโยทัยเสร็จสิ้นจึงได้เคลื่อนย้าย พระสุริโยทัยราชานุสาวรีย์ไปประดิษฐาน ณ ฐานพระรูปแห่งใหม่บริเวณใกล้กับฐานพระรูปเดิม ในเดือนกันยายน 2544

รูปแบบพระสุริโยทัยราชานุสาวรีย์
พระรูปยืนเท่าพระองค์จริง ฉลองพระองค์แบบพระมหาอุปราชออกศึกทรงผมเกล้ามวย พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงของ้าว พระหัตถ์ซ้ายทรงพระมาลา
ฐานพระรูปเดิมมีความสูงจากพื้นดิน 4.99 เมตร ด้านหน้ากว้างประมาณ 3 เมตร ทำด้วยหินอ่อนแผ่นเรียบ มีทองเหลืองหล่อรูปนูนสูงเพื่อแสดงการกระทำยุทธหัตถี รองฐานเป็นระเบียง ลูกกรงโดยใช้แก้วสีครีม 3 ด้าน ส่วนระเบียงด้านหลังสร้างด้วยหินอ่นทึบ เพื่อสลักรายชื่อผู้มีจิตศรัทธา
ฐานพระรูปปัจจุบันได้ก่อสร้างด้วยหินแกรนิต มีบันไดทางขึ้น-ลอง ทั้ง 4 ทิศ นับว่ามีความสง่างาม เหมาะสมยิ่ง


พระพุทธรูป พระพุทธสัมพรรณณีศรีสุริโยทัย
(พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระรัศมีรุ่งเรืองยิ่งประดุจแสงอาทิตย์)

ลักษณะพระพุทธรูป ปางลีลาประทานพร สูง 173 เซนติเมตร สร้างเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา โดยคณะครู นักเรียน เจ้าหน้าที่ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2547

เพลงประจำโรงเรียน/เพลงมาร์ชโรงเรียน (ดาวน์โหลด)

โรงเรียนศรีสุริโยทัยนามพระนางยิ่งใหญ่สมัยอยุธยา
เรานักเรียนภูมิใจหนักหนาจะรักษาเกียรติงามความดีสมชื่อ
เราจะอบรมให้สมกุลสตรีการเรียนการดนตรีกีฬาและการฝีมือ
ประพฤติตนให้คนเชื่อถือเกียรติระบือนามโรงเรียนศรีสุริโยทัย

เพลงอย่าลืมรัง (ดาวน์โหลด)

ศรีสุริโยทัยเราเคยได้สุขสันต์
วิญญาณรักร่วมกันผูกสัมพันธ์ตรึงใจ
เลือดพี่น้องศิษย์ศรีจะไม่มีเปลี่ยนไป
รักเคยรื่นชื่นใจยังจำได้ไม่ลืม
จะอยู่แห่งหนใดรักยังซึ้งใจดูดดื่ม
ศรีเอยอาลัยห่วงใยไม่ลืม ปลาบปลื้มวิญญา
ภาพเตือนใจใฝ่ฝันแว่วเสียงนั้นเรียกหา
มาเถิดนะแก้วตาอย่าลืมมาสู่รัง ๆ ๆ ๆ ๆ

พันตรีศรีโพธิ์ ทศนุต อดีตอาจารย์สอนดนตรีสากลของโรงเรียน
เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองเพลง

ลูก ศ.ท. พึงประพฤติและปฏิบัติตน ดังนี้

1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ สุจริต
3. มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6. มุ่งมั่นในการทำงาน
7. รักความเป็นไทย
8. มีจิตสาธารณะ

ประวัติโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

           โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เริ่มก่อตั้งเมื่อเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2465 เดิมชื่อ โรงเรียนสตรีสุทธิวราราม (ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับโรงเรียนวัดสุทธิวรารามในปัจจุบัน) เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมี คุณหญิงธนภารพิสิษฐ์ (แส มิลินทสูตร) เป็นครูใหญ่คนแรก จนถึงปี พ.ศ.2470  ได้ลาออกจากราชการ กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน) จึงได้แต่งตั้ง รองอำมาตย์ตรีเจ้ จุณณะปิยะ (เจตน์ จุณณะปิยะ) รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่แทน เนื่องจากจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี กระทรวงธรรมการได้ซื้อตึกของอนามัยหนึ่งหลัง และสร้างอาคารให้ใหม่อีกหนึ่งหลัง เป็นอาคารไม้สามชั้นในตรอกยายกับตา (ซอยดอนกุศลในปัจจุบัน) ในที่ดินของกรมรักษาที่หลวง (กรมธนารักษ์ปัจจุบัน)  โฉนดเลขที่ 672 เนื้อที่ทั้งแปลง 13 ไร่ 2 งาน 92 ตารางวาและย้ายไปเรียนในอาคารหลังดังกล่าว เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2474  แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสตรีบ้านทวาย มี คุณหญิงประยงคุ์ ถ่องดิกิจฉการ เป็นครูใหญ่รับนักเรียน ทั้งหญิงและชาย ในปี พ.ศ. 2482 กระทรวงธรรมการได้ประกาศแยกโรงเรียนสตรีบ้านทวายออกเป็น 2 โรงเรียน คือ

1. โรงเรียนสตรีบ้านทวาย สังกัดกองโรงเรียนรัฐบาล กรมสามัญศึกษา เนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา มี นางสาวกรองแก้ว วณิกนันทน์ (คุณหญิงกรองแก้ว ปทุมานนท์)  เป็นครูใหญ่  เปิดสอนแผนกสามัญศึกษา ต่อมา พระยาประมวลวิชาพูล อธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสตรีบ้านทวาย เป็น โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เพื่อให้ถูกต้องตามรัฐนิยม เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2482 (พระยาอุปกิตศิลปะสารเป็น ผู้บัญญัติชื่อโรงเรียน) ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาโรงเรียน

2. โรงเรียนการช่างสตรีพระนครใต้ สังกัดกรมอาชีวศึกษา มี คุณหญิงประยงคุ์  ถ่องดิกิจฉการ
เป็นครูใหญ่  เปิดสอนแผนกอาชีวศึกษา

            ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นเข้าสู่ประเทศไทย ได้ขออนุญาตนำทหารเข้าพักในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กระทรวงศึกษาธิการจึงสั่งให้โรงเรียนไปเปิดสอนที่โรงเรียนประชาบาล บริษัทเกลือไทย จำกัด อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในวันที่ 8 กันยายน 2487  รับนักเรียนทั้งประจำและไปกลับ  เมื่อสงครามสงบลงจึงให้กลับมาสอนที่เดิม  แต่เนื่องจาก    มีกองทหารฮอลันดาเข้ามาพักแทนทหารญี่ปุ่น โรงเรียนต้องขอยืมโรงเรียนเทศบาลวัดยานนาวา  เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ในระหว่างที่โรงเรียนได้ติดต่อสถานทูตฮอลันดาเพื่อขอให้เคลื่อนย้ายกองทัพออกจากบริเวณโรงเรียน

          ปัจจุบันโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย  เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่  บนพื้นที่  4 ไร่  3 งาน  48 ตารางวา  เปิดบริการการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 รับเฉพาะนักเรียนหญิง  เดิมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ และได้ย้ายไปสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ในปี พ.ศ. 2553

โทรศัพท์ : 0 2211 0383, 0 2211 9850, 0 2211 9937  โทรสาร : 0-2675-9134

โทรศัพท์ภายใน

สถานที่เบอร์ภายในสถานที่เบอร์ภายใน
ผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ101ห้องคอมพิวเตอร์ 1431
รองฯ บริหารวิชาการ102ห้องพักครูคอมพิวเตอร์435
รองฯ บริหารการเงิน103โรงยิมส์461
รองฯ บริหารงานทั่วไป104ห้องพักครูเวรกลางคืน511
รองฯ กิจการนักเรียน105ห้องพักครูคหกรรม512
ปชส.สนง.บริหารงานทั่วไป106ห้องครัว513
ป้อมยามโรงเรียน107ห้องพักครูวิทยาศาสตร์521
ที่พักผู้มาติดต่อราชการ108ห้องพักครูคณิตศาสตร์522
บริการรับ-ส่ง FAX109 /FAXห้องพักครูภาษาไทย531
บริการรับ-ส่ง FAX110 /FAXห้องพักครูภาษาอังกฤษ541
สำนักงานวิชาการ111ที่จอดรถครู601
ห้องอัดสำเนา112ห้องเกียรติยศ611
สำนักงานบริหารงานบุคคล113สำนักงานพัสดุ612/FAX
สำนักงานบริหารการเงินฯ114 /FAXห้องสมุด วิทย์ฯ624
สำนักงานกิจการนักเรียน115ห้องสารเคมี วิทย์ฯ631
บริการข้อมูลในรูปแบบเอกสาร116ห้องชมพูพันธ์ทิพย์637
ห้องพักครูสุขศึกษาและพลศึกษา311ห้องพักครูฝรั่งเศส641
ร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน312ห้องรับรอง647
ห้องอาหารครู316ห้องพระประวัติฯ648
ห้อง E-learning321ห้องพักครูธุรกิจ651
ห้องสมุด 1323ห้องโสตทัศนศึกษา661
ห้องสมุด 2 ( ห้องพักครู)324ห้องพักครูศิลปะ664
กองกลางการสอบ330ห้องดนตรี 1665
งานทะเบียน-วัดผล414ห้องดนตรี 2 (ห้องฟ้อนรำ)668
ห้องพยาบาล415หอประชุมชั้น 7 (ห้อง Control)671
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน421หอประชุมชั้น 7 (หลังเวที)672
ห้องหลักสูตรทางเลือก422หอประชุมชั้น 7 (เตรียมอาหาร)673
ห้องพักครูสังคมฯ425หอประชุมชั้น 7 (ที่รับรอง)674