กลอน
กลอน
กลอน เป็นคำประพันธ์ร้อยกรองที่รู้จักกันแพร่หลาย กลอนมีกลายชนิด มีจำนวนคำและลักษณะบังคับแตกต่างกันออกไป ได้แก่
กลอนแปด หรือกลอนสุภาพ, กลอนสี่ , กลอนหก , กลอนสักวา ,กลอนดอกสร้อย , กลอนบทละคร , กลอนชาวบ้าน ฯลฯ
ฉันทลักษณ์ หรือลักษณะข้อบังคับของกลอน ที่สำคัญ ได้แก่
จำนวนคำในแต่ละวรรค
กลอนแต่ละชนิดมีจำนวนคำต่างกัน เช่น กลอนสี่ มีวรรคละสี่คำ กลอนหก มีวรรคละหกคำ กลอนแปดมีวรรคและแปดคำ เป็นต้น
สัมผัส
สัมผัสของกลอนมี ๒ ชนิด ได้แก่ สัมผัสนอก และสัมผัสใน
สัมผัสนอก คือสัมผัสระหว่างวรรค เป็นสัมผัสสระเท่านั้น และเป็นสังผัสบังคับ จำเป็นต้องมี หากไม่มีถือว่าผิด
สัมผัสใน คือสัมผัสภายในวรรคเดียวกัน มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสพยัญชนะ ไม่ใช่สัมผัสบังคับ จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีจะทำให้กลอนมีเสียงเป็นจังหวะคล้องจองไพเราะมากขึ้น
เสียงวรรณยุกต์
กลอนบางชนิด เช่น กลอนแปด มีข้อบังคับเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคแต่ละวรรคแตกต่างกัน หากใช้ไม่ถูกต้องจะทำให้เสียงของกลอนผิดเพี้ยน โดยเฉพาะในการอ่านออกเสียงเป็นทำนองเสนาะ
ดังนั้น ผู้ที่จะฝึกเขียนกลอน จึงจำเป็นต้องศึกษาลักษณะข้องบังคับ และฝึกหัดเขียนให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
- ล็อกอิน เพื่อแสดงความคิดเห็น
- อ่าน 4310 ครั้ง